fbpx

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์

5 CEO ระดับโลกที่เรียนปริญญาตรีไม่ตรงสาย – Factsheet No.34

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ เราอาจจะได้เห็นบ่อย ๆ แล้วว่า ซีอีโอระดับโลกที่ประสบความสำเร็จ มีทั้งคนที่จบการศึกษาแบบสายตรงในอุตสาหกรรมนั้น ๆ และในขณะเดียวกันก็มีอีกหลาย ๆ คน ที่ไม่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ก็ประสบความสำเร็จในระดับที่สูงมากได้ แต่ในวันนี้ Factsheets จะพาคุณมารู้จักกับ 5 ซีอีโอ ที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา แต่จบมาไม่ตรงสายงานที่แต่ละคนประสบความสำเร็จในปัจจุบัน พวกเค้าเป็นใคร เรียนจบอะไรมา และสาขาที่เรียนจบนั้น ๆ น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จในวันนี้ได้อย่างไร เราจะวิเคราะห์ให้คุณฟัง สุนทรา พิชัย (Sundar Pichai) แห่ง Googleพิชัยรับตำแหน่งซีอีโอของ Alphabet Inc. และบริษัทลูก Google มาตั้งแต่ปี 2015 พื้นเพของเขาเกิดที่เมืองเชนไน ประเทศอินเดีย และเรียนจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมโลหการจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดีย ที่เมืองขรรคปุระ (Indian Institute of Technology, Kharagpur) จากนั้นย้ายไปสหรัฐอเมริกา เรียนจบปริญญาโทวัสดุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และบริหารธุรกิจจาก Wharton School of the University …

5 CEO ระดับโลกที่เรียนปริญญาตรีไม่ตรงสาย – Factsheet No.34 Read More »

9 สิ่งที่ไม่ควรใส่ในเรซูเม่ – Factsheet No.33

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ วันนี้ Factsheets จะมาเล่าถึง 9 สิ่งที่ไม่ควรใส่ไว้ในเรซูเม่ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ลองอ่านเหตุผลที่เรายกมา แล้วลงมือแก้ไขเปลี่ยนแปลงก็ยังไม่สาย ถ้าคุณคิดว่ากำลังจะสมัครงานอยู่ ขอให้ลองอ่านบทความนี้ดู เรามาเริ่มกันเลย 1. ข้อมูลโรงเรียนประถมหรือมัธยมหากคุณเรียนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย หรือสำเร็จการศึกษาแล้ว ข้อมูลโรงเรียนมัธยมจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นพอที่จะใส่ไว้ในเรซูเม่ เหตุผลก็เพราะโรงเรียนมัธยมไม่ได้สะท้อนถึงตัวตนและความชำนาญเฉพาะด้านเท่าไหร่นัก แต่หากการใส่ข้อมูลโรงเรียนมัธยมสามารถสะท้อนการพัฒนาตัวเองของคุณได้ หรือสามารถส่งผลดีกับการสมัครงาน ในกรณีดังกล่าวจะใส่ไว้ก็ได้ 2. เกรดเฉลี่ย (และเกรดเฉลี่ยที่ไม่สวยงาม)ถ้าองค์กรที่คุณสมัครไม่ได้กำหนดว่าจะต้องบอกเกรดเฉลี่ย (GPA) โดยเฉพาะกรณีเกรดไม่สวย ก็ไม่ต้องแสดงก็ได้ และหากเรียนจบมาระยะหนึ่งแล้ว การไม่ใส่ GPA แต่เน้นไปที่ประสบการณ์ทำงานและผลงานก็จะมีผลให้ได้รับเลือกมากกว่า 3. การพูดถึงตัวเองด้วยสำนวนคนอื่นหลายครั้งด้วยความเขิน เราอาจเขียนถึงทักษะหรือความสามารถพิเศษของตัวเองด้วยสำนวนที่เหมือนกับคนอื่นเขียนให้ เช่น สมชายมีความเชี่ยวชาญในด้านงานช่าง ซึ่งอาจจะถูกมองว่าโอ้อวด หรือมีความไม่กล้าแสดงออกก็ได้เช่นกัน ดังนั้นหากจะแสดงให้ผู้รับสมัครเห็นความสามารถ ให้เขียนลงไปตรง ๆ เลยว่ามีความสามารถอะไรบ้าง และหากแนบหลักฐานไปด้วยได้ก็จะยิ่งดี 4. มีรูปหลายรูปนอกจากในบางสายงานที่ต้องคัดหน้าตาหรือบุคลิกเป็นพิเศษ ตามปกติให้เลือกรูปที่ดูดีและเป็นทางการ 1 รูปเท่านั้น 5. ประสบการณ์หรือการทำงานในระยะเวลาที่สั้นเกินไปคนเราอาจมีช่วงเวลาในชีวิตที่กำลังเลือกทางที่ใช่ ช่วงเวลาดังกล่าวอาจจะทำให้เราเข้า ๆ ออก ๆ งานหลายครั้ง …

9 สิ่งที่ไม่ควรใส่ในเรซูเม่ – Factsheet No.33 Read More »

จะเลือกช่องทางการขายออนไลน์ให้เหมาะสมกับเราได้อย่างไร – Factsheet No.32

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ Factsheets เชื่อว่าหลังจากว่าที่พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ตัดสินใจว่าจะเริ่มต้นขายอะไรสักอย่างบนโลกออนไลน์ แต่ละรายก็จะเลือกวิธีการขายหลักของตัวเองต่าง ๆ กันออกไป บางรายอาจจะถนัดขายบนโซเชียลมีเดีย บางรายอาจจะใช้แพลตฟอร์มขายสินค้า และบางรายอาจจะทำเว็บไซต์ e-Commerce ขึ้นมาเองซะเลย วันนี้ Factsheets จะพามาดูกัน ว่าช่องทางการขายแต่ละช่องทางมีข้อดี ข้อสังเกต เป็นอย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่ควรคำนึงถึง ขายบน Facebook หรือโซเชียลมีเดียเรามาเริ่มกันที่ Facebook ก่อนเลย โดยเราอาจนับได้ว่าเป็นโซเชียลมีเดียมาตรฐานไม่ว่าจะขายสินค้า หรือสร้างความรู้จักให้กับธุรกิจบริการ สำหรับ Facebook นั้น ข้อดีก็คือไม่ได้มีค่าใช้จ่ายในตอนเริ่มต้น โดยเราสามารถขายสินค้าได้ทั้งจากการโพสต์บนหน้าโปรไฟล์ของเราตามปกติ หรือจะสร้างเพจแยกสำหรับแบรนด์หรือร้านค้า หรือเราอาจจะขายผ่านส่วนที่เรียกว่า Marketplace ของ Facebook ด้วยก็ได้ และหากเราต้องการให้โพสต์ขายสินค้าของเราไปถึงกลุ่มเป้าหมาย Facebook ก็ยังมีบริการโฆษณา โดยการโฆษณาบน Facebook เรียกได้ว่าเป็นศาสตร์และศิลป์อีกแขนงหนึ่งก็ว่าได้ เพราะต้องอาศัยประสบการณ์และความเข้าใจทั้งสินค้าและพฤติกรรมของลูกค้าเรา รวมถึงยังมีเทคนิคต่าง ๆ มากมาย เช่น การติดตามพฤติกรรมลูกค้าด้วย Pixel โดยเชื่อมต่อเข้ากับเว็บไซต์หรือหน้าเว็บขนาดเล็ก (Landing Page หรือ Sale …

จะเลือกช่องทางการขายออนไลน์ให้เหมาะสมกับเราได้อย่างไร – Factsheet No.32 Read More »

สร้างแบรนด์ให้ปังด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับ Sensory Branding – Factsheet No.31

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ ถ้าพูดถึง “แบรนด์” สำหรับคนที่ไม่ได้ศึกษาด้านการสื่อสารหรือการตลาดมาโดยตรงอาจจะนึกถึงยี่ห้อของสินค้า ชื่อสถานบริการ หรือโลโก้ ซึ่งจริง ๆ แล้วทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็น “เครื่องมือ” ที่มักจะถูกใช้เพื่อสื่อสารแบรนด์อีกทีหนึ่ง ซึ่งถ้าอธิบายให้เข้าใจแบบง่ายที่สุด แบรนด์ คือบุคลิกลักษณะที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างตั้งใจเพื่อสื่อสารเอกลักษณ์ สร้างความจดจำ สร้างความรู้สึก ประสบการณ์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย และวันนี้ Factsheets จะขอนำเสนอหลักการที่เรียกว่า Sensory Branding หรือ การสื่อสารแบรนด์ด้วยประสาทสัมผัส ซึ่งเราอาจได้พบหรือรับรู้มาโดยตลอด จนเราสามารถจดจำสัมผัสต่าง ๆ ของแบรนด์แต่ละแบรนด์ได้ โดยปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ Sensory Branding สามารถสร้างอิทธิพลของแบรนด์ ได้แก่ 1. สร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image) สามารถควบคุมทิศทางการสื่อสารของแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ2. สร้างการจดจำแบรนด์ (Brand Recognition) กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าสามารถจดจำเอกลักษณ์ของแบรนด์ได้ตั้งแต่ครั้งแรก ๆ ที่ได้สัมผัส3. ทำให้แบรนด์ถูกนึกขึ้นได้ (Brand Recall) เมื่อกลุ่มเป้าหมายเห็นส่วนใดส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ หรือต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่แบรนด์สามารถตอบโจทย์ได้4. ความความสัมพันธ์ทางอารมณ์จากแบรนด์ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย (Emotional Connect) …

สร้างแบรนด์ให้ปังด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับ Sensory Branding – Factsheet No.31 Read More »

รู้ทันภัยต้มตุ๋น จากรักหลอกลวงออนไลน์ – Factsheet No.29

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ ในระยะหลัง ๆ Factsheets พบว่าจำนวนของการพยายามหลอกลวงออนไลน์ โดยสร้างตัวตนบุคคลปลอม หลอกพูดคุยกับเหยื่อเพื่อหาทางตบทรัพย์เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก วันนี้ Factsheets จะพามารู้จักกับโฉมหน้าใหม่ของมิจฉาชีพ นั่นคือ Romance Scammer ที่อาจดูเหมือนนักรัก แต่สุดท้ายคือนักหลอกลวง ที่มีผู้หลงกลจนถึงขั้นเสียทรัพย์สินไปแล้วมากมาย พฤติการณ์ของมิจฉาชีพRomance Scammer มีรูปแบบการเข้าหาเหยื่อคล้าย ๆ กัน นั่นคือการสร้างตัวตนขึ้นบนโลกออนไลน์ หรืออาจจะขโมยตัวตนคนอื่นที่มีอยู่จริงมาใช้สร้างโปรไฟล์สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ โดยโปรไฟล์ปลอมเหล่านี้มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ และที่พบได้บ่อยอีกรูปแบบก็คือ การสร้างโปรไฟล์ว่าเป็น “ทหาร” ต่างชาติ ทั้งเพศชายและหญิง จากนั้นมิจฉาชีพจะใช้โปรไฟล์ปลอม Add friend เป้าหมาย โดยจะเลือกจากเป้าหมายที่ดูมีฐานะ หากเป้าหมายรับเป็นเพื่อน ก็จะพยายามพูดคุย ตีสนิทอย่างรวดเร็ว พรรณนาถึงความร่ำรวยหรือความเป็นอยู่ที่ดีของตัวเอง หากเหยื่อเริ่มมีท่าทีให้ความสนใจ มิจฉาชีพเหล่านี้ก็จะดำเนินการขายฝันต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการบอกรัก (แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน) การบอกว่าจะมาหา โอนเงินให้เพื่อให้ไปหา จะส่งของขวัญราคาแพงมาให้ แล้วใช้กลลวงในการหลอกให้เหยื่อโอนเงินไปด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง โดยอาจอ้างว่าประสบเหตุไม่คาดฝัน ญาติป่วย …

รู้ทันภัยต้มตุ๋น จากรักหลอกลวงออนไลน์ – Factsheet No.29 Read More »

9 กลยุทธ์ตั้งราคา สำหรับ e-Commerce – Factsheet No.28

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ การขายสินค้าออนไลน์ในปัจจุบันมีช่องทางและเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกสำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งแพลตฟอร์มในการขายสินค้า ช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย โซเชียลมีเดียต่าง ๆ เมื่อมีการขายสินค้า การตั้งราคาขายก็เป็นเรื่องที่สำคัญ วันนี้ Factsheets จะพาทุกท่านมารู้จักกับ 9 กลยุทธ์ในการตั้งราคาสินค้า ซึ่งอาจทำให้มุมมองของคุณต่อการตั้งราคาสินค้าของตัวเองเปลี่ยนไปได้เลย กลยุทธ์ที่ 1 : การตั้งราคาจากต้นทุนCost-based pricingเป็นวิธีการตั้งราคาที่คลาสสิคมาก ๆ นั่นก็คือการคำนวณต้นทุน แล้วตั้งราคาเพื่อให้ครอบคลุมปริมาณต้นทุน เพื่อให้ขายได้กำไรแต่รู้หรือไม่ว่า มีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จำนวนมากลืมคำนวณต้นทุกที่มองไม่เห็น ถึงแม้ว่าการขายของออนไลน์จะไม่จำเป็นต้องเช่าแผงหรือมีหน้าร้าน แต่มีต้นทุนแฝงที่มองไม่เห็นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเว็บ ค่าธรรมเนียมช่องทางการชำระเงิน ค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม ภาษีต่าง ๆ ค่าใช้จ่ายเรื่องพื้นที่จัดเก็บสินค้า ซึ่งถึงแม้ว่าจะเก็บสินค้าไว้ในบ้าน แต่อย่าลืมว่าพื้นที่ภายในบ้านก็นับเป็นต้นทุนเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเช่าบ้าน กำลังผ่อน หรือผ่อนหมดแล้วก็ตามอย่าลืมคิดเรื่องต้นทุนแฝงให้ถี่ถ้วน ก่อนที่จะขายขาดทุนแล้วต้องเสียดายเสียใจภายหลัง กลยุทธ์ที่ 2 : การตั้งราคาจากตลาดMarket-based pricingถ้าเราไม่ใช่คนเดียวที่กำลังขายสินค้าประเภทนั้น ๆ อยู่ สิ่งที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาดก็คือการวิเคราะห์คู่แข่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องตัดราคาคู่แข่งจนตัวเราเองได้กำไรน้อยลงไปด้วย เพราะสงครามราคาในระยะยาวนั้นไม่เป็นประโยชน์กับใครเลย แต่ควรทำกลยุทธ์ราคาแบบมีเงื่อนไขแทน เช่น การให้ราคาพิเศษกับกลุ่มเป้าหมายพิเศษที่มีศักยภาพและจำเป็นต้องใช้สินค้าของคุณ ก็จะช่วยให้คุณสามารถสร้างความได้เปรียบและยืนหยัดอยู่ในตลาดได้แบบยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 3 …

9 กลยุทธ์ตั้งราคา สำหรับ e-Commerce – Factsheet No.28 Read More »

Gmail เปิดตัวในวันที่ 1 เมษา และทุกคนเคยคิดว่ามันคือเรื่องโกหกคำโตจาก Google – Factsheet No.27

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ ก่อนที่จะมาเลิกเล่น 2 ปีติดต่อกันมานี้ Google เป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เคยเล่นสนุกกับ April Fool’s Day ทุก ๆ ปี Google เคยเล่นทั้งข่าวการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ไม่น่าเป็นไปได้ เช่น เครื่องดื่ม Google Gulp ที่ช่วยเพิ่มพลังในการค้นหาข้อมูลโดยทำให้สมองฉลาดขึ้น Google Romance ระบบค้นหาคู่เดท หรือแม้กระทั่งข่าวช็อคโลก เช่นการเปิดเผยว่า Google Docs จะรองรับการอัปโหลดวัตถุจริง ๆ ขึ้นไปเก็บไว้ได้ ก็เคยมีมาแล้ว ย้อนกลับไปเมื่อปี 2547 อีเมลฟรีที่เป็นที่นิยมทั่วโลกนั้นมีอยู่ 2 บริษัทด้วยกัน คือ Hotmail กับ Yahoo ซึ่งอีเมลฟรีในท้องตลาดยุคนั้นให้พื้นที่ Inbox กันอยู่ที่ประมาณ 2-4 เมกะไบต์เท่านั้น แถมระบบต่าง ๆ ยังไม่ดีพอ เช่น การค้นหาอีเมลเก่า ๆ ก็ลำบาก แต่ในวันที่ 1 เมษายนปีนั้นเอง …

Gmail เปิดตัวในวันที่ 1 เมษา และทุกคนเคยคิดว่ามันคือเรื่องโกหกคำโตจาก Google – Factsheet No.27 Read More »

อัปเดตจาก Facebook ที่เน้นเรื่องความโปร่งใสของข้อมูลส่วนบุคคลยิ่งขึ้น – Factsheet No.26

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ หลังจากที่ Mark Zuckerberg แสดงท่าทีเริ่มเห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องความโปร่งใสของข้อมูลส่วนบุคคลของ Apple เมื่อประมาณกลางเดือนมีนาคม และในต้นเดือนเมษายน 2564 Facebook ได้ประกาศว่าจะทำการอัปเดต News feed ครั้งสำคัญครั้งหนึ่งเลยทีเดียว เรามาดูกันว่ามีความเปลี่ยนแปลงอะไรไปบ้าง Control What You Share ควบคุมโพสต์ของเราได้มากขึ้นNews feed เพิ่มความสามารถใหม่ โดยให้เราสามารถเลือกได้ว่า เราอนุญาตให้ใครแสดงความเห็น (Comment) บนโพสต์แต่ละโพสต์ของเราได้บ้าง จากเดิมที่เคยควบคุมได้เพียงว่าใครสามารถมองเห็นโพสต์ได้เพียงอย่างเดียว โดยตามตัวอย่างที่ Facebook เผยแพร่ออกมา เผยให้เห็นว่ามีอยู่ 3 ตัวเลือกด้วยกัน คือ สาธารณะ เพื่อน และผู้คนหรือเพจที่เรากล่าวถึง (Profiles and Pages you mention) โดย Facebook กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากความต้องการที่จะให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและจำกัดความคิดเห็นที่เราไม่ประสงค์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบุคคลสาธารณะ ครีเอเตอร์ หรือแบรนด์ การจำกัดความคิดเห็นอาจจะทำให้การพูดคุยในกลุ่มชุมชนมีความรู้สึกปลอดภัย มีสวนร่วม และมีความหมายที่ดียิ่งขึ้น Control What …

อัปเดตจาก Facebook ที่เน้นเรื่องความโปร่งใสของข้อมูลส่วนบุคคลยิ่งขึ้น – Factsheet No.26 Read More »

รู้จักที่มาที่ไปของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) – Factsheet No.25

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เป็นเครื่องมือหารายได้ของรัฐรูปแบบหนึ่ง ที่รัฐจะเรียกเก็บจากผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการ ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล วันนี้ Factsheets จะพามารู้จักความหมายของคำว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม กันอย่างถ่องแท้ ว่ามูลค่าที่เพิ่มมาต้องเสียภาษีแบบไหน จุดเริ่มต้นของภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย ใครมีหน้าที่เสียภาษีบ้าง แล้วในประเทศอื่น ๆ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มกันอย่างไร ที่มาของคำว่าภาษีมูลค่าเพิ่มคำว่ามูลค่าเพิ่ม เกิดจากหลักการในทางเศรษฐศาสตร์ว่า เมื่อมีการนำวัตถุดิบมาผ่านกระบวนการผลิต “มูลค่า” ของผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกมานั้นย่อมจะ “เพิ่ม” มากขึ้น และรัฐสามารถเรียกเก็บภาษีจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นมานี้ได้ อธิบายง่าย ๆ เช่น หากเราทำธุรกิจโดยการซื้อสับปะรดมา แล้วทำการแปรรูปให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋อง สับปะรดกระป๋องนั้นก็ย่อมมีมูลค่ามากกว่าสับปะรดสด ๆ และแน่นอนว่าเราจะได้กำไรจากส่วนต่าง “มูลค่า” ที่ “เพิ่ม” ขึ้น VAT จึงถูกคิดในสัดส่วนที่รัฐกำหนดจากราคาที่เราขาดสับปะรดกระป๋องนั่นเอง และหากมีการนำสับปะรดกระป๋องไปเพิ่มมูลค่าเพื่อจำหน่ายอีกที เช่นทำเป็นอาหาร ก็จะต้องเสีย VAT เพิ่มอีกทีในส่วนต่างที่เกิดขึ้น เรียกกันง่าย ๆ ติดปากว่า “ภาษีขาย – ภาษีซื้อ” โดยผู้ประกอบการจะนำยอดภาษีขายมาหักออกจากภาษีซื้อ แล้วค่อยนำส่ง VAT …

รู้จักที่มาที่ไปของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) – Factsheet No.25 Read More »

เมื่อเข้าใจคำว่า Insight “ไอ้ไข่” จึงแจกโชค – Factsheet No.24

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ ไอ้ไข่ เด็กวัดเจดีย์ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ตำนานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวปักษ์ใต้เลื่อมใสศรัทธา และได้รับความศรัทธาเพิ่มขึ้นจากทั่วสารทิศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขึ้นชื่อว่าสามารถบันดาลโชคลาภและความร่ำรวยได้อย่างสมปรารถนา และเมื่อมีการบนบานศาลกล่าวแล้วได้ผลสำเร็จตามที่ปรารถนา การแก้บนก็ย่อมต้องเกิดขึ้น และสิ่งของแก้บนยอดฮิตสำหรับไอ้ไข่ นั่นก็คือ “ชุดทหารเด็ก” และดูเหมือนความศักดิ์สิทธิ์นี้อาจจะสามารถพิสูจน์ได้แล้วในทางวิทยาศาสตร์ จากการระบาดของโควิด 19 ทำให้หลายธุรกิจประสบปัญหาซบเซาอย่างหนัก การส่งออกเป็นไปได้อย่างยากลำบาก และธุรกิจเสื้อผ้าก็เป็นธุรกิจอันดับต้น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ทำให้โรงงานต้องเลิกจ้างพนักงาน รวมถึงหลายแห่งต้องปิดตัวลงไป แต่ไม่ใช่สำหรับธุรกิจ “เสื้อผ้าชุดทหารเด็ก” ทีมงาน Factsheets ได้ค้นหาข้อมูลลึกลงไป พบว่าผู้ผลิตเสื้อผ้าชุดทหารเด็กหลายรายได้ปรับเปลี่ยนวิธีทำการตลาดผ่าน Social Media และแพลตฟอร์ม e-Commerce โดยเปลี่ยนชื่อเรียกสินค้าเสื้อผ้าชุดทหารเด็ก เป็น “ชุดแก้บนไอ้ไข่” โดยมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นจำนวนมาก บางผลิตภัณฑ์ในแพลตฟอร์ม Shopee สามารถขายได้มากกว่า 5 พันชิ้น ไม่นับรวมในแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่ยังขายดีมากขึ้นต่อเนื่อง มีหลายราคาตั้งแต่ไม่ถึง 50 บาท ไปจนถึงหลายร้อยบาท นอกจากชุดทหารแล้ว สิ่งของอื่น ๆ เช่น ของเล่นที่เกี่ยวกับทหารหรืออาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง …

เมื่อเข้าใจคำว่า Insight “ไอ้ไข่” จึงแจกโชค – Factsheet No.24 Read More »