รู้จักที่มาที่ไปของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) – Factsheet No.25
พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เป็นเครื่องมือหารายได้ของรัฐรูปแบบหนึ่ง ที่รัฐจะเรียกเก็บจากผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการ ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล วันนี้ Factsheets จะพามารู้จักความหมายของคำว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม กันอย่างถ่องแท้ ว่ามูลค่าที่เพิ่มมาต้องเสียภาษีแบบไหน จุดเริ่มต้นของภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย ใครมีหน้าที่เสียภาษีบ้าง แล้วในประเทศอื่น ๆ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มกันอย่างไร ที่มาของคำว่าภาษีมูลค่าเพิ่มคำว่ามูลค่าเพิ่ม เกิดจากหลักการในทางเศรษฐศาสตร์ว่า เมื่อมีการนำวัตถุดิบมาผ่านกระบวนการผลิต “มูลค่า” ของผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกมานั้นย่อมจะ “เพิ่ม” มากขึ้น และรัฐสามารถเรียกเก็บภาษีจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นมานี้ได้ อธิบายง่าย ๆ เช่น หากเราทำธุรกิจโดยการซื้อสับปะรดมา แล้วทำการแปรรูปให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋อง สับปะรดกระป๋องนั้นก็ย่อมมีมูลค่ามากกว่าสับปะรดสด ๆ และแน่นอนว่าเราจะได้กำไรจากส่วนต่าง “มูลค่า” ที่ “เพิ่ม” ขึ้น VAT จึงถูกคิดในสัดส่วนที่รัฐกำหนดจากราคาที่เราขาดสับปะรดกระป๋องนั่นเอง และหากมีการนำสับปะรดกระป๋องไปเพิ่มมูลค่าเพื่อจำหน่ายอีกที เช่นทำเป็นอาหาร ก็จะต้องเสีย VAT เพิ่มอีกทีในส่วนต่างที่เกิดขึ้น เรียกกันง่าย ๆ ติดปากว่า “ภาษีขาย – ภาษีซื้อ” โดยผู้ประกอบการจะนำยอดภาษีขายมาหักออกจากภาษีซื้อ แล้วค่อยนำส่ง VAT …
รู้จักที่มาที่ไปของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) – Factsheet No.25 Read More »