fbpx

วัน: 30 เมษายน 2021

5 อันดับสโมสรฟุตบอลทั่วโลกที่มียอดผู้ติดตามทาง Social Media สูงที่สุด – Factsheet No.19

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ จากสถิติเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ราชันย์ชุดขาว รีลมาดริด เป็นสโมสรฟุตบอลที่มียอดผู้ติดตามรวมทั้งหมดในสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด คือ 251.5 ล้านคน โดยยอดดังกล่าว แบ่งออกได้เป็นFacebook (110.9 ล้านคน)Instagram (94.5 ล้านคน)Twitter (35.7 ล้านคน)YouTube (6.2 ล้านคน)และ TikTok (4.2 ล้านคน) โดยอันดับถัด ๆ มา ได้แค่ บาร์เซโลนา 248 ล้านคน แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 140.8 ล้านคน ยูเวนตุส 102.9 ล้านคน และ เชลซี 93.2 ล้านคน ตามลำดับ สำหรับแชมป์พรีเมียร์ลีกฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งมีแฟนบอลชาวไทยมากที่สุดอย่างลิเวอร์พูล อยู่ที่อันดับ 6 โดยมียอดผู้ติดตาม 91.7 ล้านคน ที่มาhttps://www.realmadrid.com/en/news/2021/01/26/real-madrid-ranked-as-football-club-with-most-social-media-followers

พิซซ่าสองถาด จากคำพูดของ Jeff Bezos – Factsheet No.18

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ เป็นที่รู้กันดีว่าเจฟฟ์ เบซอส แห่ง Amazon นั้นเกลียดการทำงานด้วยทีมขนาดใหญ่ เพราะปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารที่มากเกินไป อ้าว… ทำงานกันก็ยิ่งต้องสื่อสารกันให้มากยิ่งดีไม่ใช่เหรอ ? ไม่เสมอไป เพราะเมื่อมีการสื่อสารที่มาก ยิ่งมีความสับสนเกิดขึ้นได้มากตามไปด้วย ซึ่งหลายครั้งการต้องมาตัดสินใจกับไอเดียจำนวนมากที่เกิดขึ้นก็ลดประสิทธิภาพการทำงาน (Productivity) ไปไม่น้อย ลองนึกภาพดูว่าทีมขนาดเล็ก ๆ ที่สามารถกินพิซซ่า 2 ถาด บนโต๊ะในห้องประชุม เราคงนึกออกว่าภาพที่เกิดขึ้นคือทีมที่มีปฏิสัมพันธ์กันใกล้ชิด สามารถสื่อสารกันได้มีประสิทธิภาพ ตรงไปตรงมา และผ่อนคลาย นอกจากนั้น ในทางจิตวิทยายังมีการศึกษาว่า ยิ่งทีมมีขนาดใหญ่ ยิ่งมี link ของความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนขึ้นตามไปด้วย ยกตัวอย่างว่าสมาชิกในทีมแต่ละคนนอกจากจะแค่รู้จักกันแล้ว ยังมีการตัดสินใจโดยอาศัยความเข้าใจของคนอื่น ๆ ด้วย ทีมเล็ก ๆ ที่มีแค่ 3 คน ก็จะมี Link แค่เพียง 3 Link แต่เมื่อทีมมีขนาด 6 คน จะเพิ่มเป็น 15 Link และเมื่อทีมมีขนาด 12 …

พิซซ่าสองถาด จากคำพูดของ Jeff Bezos – Factsheet No.18 Read More »

สถิติผู้จ่ายค่าบริการสตรีมเพลงทั่วโลก – Factsheet No.17

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ แพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยที่ทุกแพลตฟอร์มต่างมีกลยุทธ์ในการสร้างระดับการเข้าถึงที่แตกต่างกันออกไป บางแพลตฟอร์มให้ฟังเพลงได้ฟรีแบบมีโฆษณา แบบฟรีเมียมที่สามารถเลือกจ่ายเงินเพิ่มเพื่อคุณภาพที่ดีขึ้น หรือแบบชำระเงินเท่านั้น การแข่งขันที่เกิดขึ้นจึงทำให้ค่าใช้จ่ายในการสมัครสมาชิกลดลง ไม่เพียงแค่นั้น อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงด้วยการแชร์ไฟล์แบบ Peer to peer เช่นบิททอร์เรนต์ก็ลดลงเช่นกัน วันนี้ Factsheets จะพามาดูว่า 5 แพลตฟอร์มสตรีมเพลงที่คนไทยรู้จักกันดี มียอดผู้ใช้บริการแบบเสียเงินทั่วโลกของแต่ละรายอยู่ที่เท่าไหร่ แล้วแต่ละแพลตฟอร์มมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง อันดับ 1 – Spotify จากสวีเดนผู้ใช้แบบเสียเงิน 155 ล้านบัญชีเป็นบริการสตรีมเพลง พอดแคสต์ และวิดีโอ เปิดบริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ปัจจุบัน Spotify มีเพลงมากกว่า 60 ล้านเพลง และมีจำนวนผู้ใช้สูงถึง 345 ล้านบัญชี ในจำนวนนี้มีบัญชีแบบเสียเงินอยู่มากขึ้น 155 ล้านบัญชี โดยผู้ใช้สามารถฟังเพลงได้ทั้งแบบฟรีที่มีโฆษณา หรือหากต้องการฟังแบบไม่มีโฆษณาคั่น เล่นได้ทุกเพลง ดาวน์โหลดได้ จะมีราคาเริ่มต้นที่ 139 บาทต่อเดือน อันดับ 2 – Apple Music …

สถิติผู้จ่ายค่าบริการสตรีมเพลงทั่วโลก – Factsheet No.17 Read More »

หุ้น Facebook + 4.1% หลังแสดงท่าทีสนับสนุนนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Apple – Factsheet No.16

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา Apple ประกาศว่าใน iOS 14 จะมาพร้อมกับฟีเจอร์ App Tracking Transparency ซึ่งจะเปิดเผยวิธีการที่แอพต่าง ๆ ติดตามข้อมูลของผู้ใช้ โดยการที่แอพจะติดตามข้อมูลต่าง ๆ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใช้ก่อน Facebook ดูจะเป็นบริษัทที่แสดงออกชัดเจนว่าไม่เป็นด้วยกับนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Apple ตลอดมา เรียกได้ว่าประกาศสงคราม ไม่ว่าจะเป็นการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์และสื่อต่าง ๆ เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ใช้ยินยอมให้ Facebook ติดตามข้อมูลได้ เพื่อนำเสนอ Personalized ad หรือโฆษณาที่ออกแบบมาเฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น โดย Facebook ให้เหตุผลว่าจะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กได้รับประโยชน์อย่างมาก แต่ล่าสุด Facebook มีทีท่าที่เปลี่ยนแปลงไป และศึกนี้กำลังจะจบลง จากที่ Mark Zuckerberg พูดใน Clubhouse เมื่อวันพฤหัสที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ว่า Facebook อาจอยู่ในสถานการณ์ที่ดี หากการเปลี่ยนแปลงของ Apple กระตุ้นให้มีจำนวนผู้ค้าบนแพลตฟอร์มของ Facebook ได้มากขึ้น และคาดว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะสร้างความท้าทายให้กับนักพัฒนาและธุรกิจขนาดเล็ก …

หุ้น Facebook + 4.1% หลังแสดงท่าทีสนับสนุนนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Apple – Factsheet No.16 Read More »

รู้จัก OVOP หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ ต้นแบบของ OTOP จากญี่ปุ่น – Factsheet No.15

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในบ้านเรา ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบันก็ครบ 20 ปีพอดิบพอดี วันนี้ Factsheets จะพาไปดูว่า ต้นกำเนิดแรกของแนวคิด 1 พื้นที่ 1 ผลิตภัณฑ์ มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร และปัจจุบันแนวคิดนี้พัฒนาไปถึงไหนอย่างไรบ้าง OVOP ต้นกำเนิดของ OTOPโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 ผลิตภัณฑ์ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2522 ในชื่อภาษาอังกฤษคือ One Village One Product หรือ OVOP ที่จังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น โดยคัดสรรผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาเพิ่มมูลค่า และพัฒนาเป็นธุรกิจเพื่อนำรายได้มายกระดับคุณภาพชีวิตของคนในแต่ละหมู่บ้าน มีสินค้าได้แค่ เห็ดชิตาเกะ เนื้อวัว ปลาอาจิ โชจูข้าวบาร์เลย์ และอื่น ๆ มากกว่า 300 ผลิตภัณฑ์.หลักปรัชญาของ OVOPมีอยู่ …

รู้จัก OVOP หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ ต้นแบบของ OTOP จากญี่ปุ่น – Factsheet No.15 Read More »

Samsung Galaxy Note อาจไม่ออกรุ่นใหม่ในปีนี้ – Factsheet No.14

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ จากปัญหาขาดแคลนชิป Samsung กำลังพิจารณาข้ามการเปิดตัวผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนเรือธง Galaxy Note รุ่นใหม่ของปีนี้ เนื่องจากปริมาณชิปที่ไม่เพียงพอที่จะเปิดตัวสมาร์ทโฟนระดับเรือธง 2 รุ่น ใน 1 ปี จากรายงานของ Bloomberg กล่าวว่า ในระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของ Samsung Koh Dong-jin ซีอีโอร่วมชี้แจงว่า บริษัทกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนชิปและอาจเป็นเรื่องยากที่จะเปิดตัว Galaxy Note ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ตามที่เคยวางแผนไว้ นักวิเคราะห์ของ Samsung Securities กล่าวว่าปัญหาใหญ่ของ Samsung คือการขาดแคลนชิป Qualcomm ที่ผลิตโดย TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของไต้หวัน โดยปัญหาขาดแคลนชิปนี้ส่งผลกระทบต่อบริษัทมือถือทุกแห่ง ยกเว้น Apple ซีอีโอร่วมของ Samsung กล่าวเพิ่มเติมว่า เวลาในการเปิดตัวรุ่น Note อาจจะต้องเปลี่ยนแปลง แต่ Samsung จะยังใช้ความพยายามในการที่จะเปิดตัว Galaxy Note รุ่นหน้าในปีถัดไป ไม่เพียงแค่ Samsung …

Samsung Galaxy Note อาจไม่ออกรุ่นใหม่ในปีนี้ – Factsheet No.14 Read More »

กลยุทธ์สื่อสารแบรนด์ NIKE ในยุค COVID-19 – Factsheet No.13

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ จากการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ส่งผลให้กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการรวมตัวกันในทุก ๆ มิติของสังคมต้องหยุดชะงักลง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย เล่นกีฬา จับจ่ายซื้อของที่หน้าร้าน โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกาที่สถานการณ์การระบาดหนักมาก ๆ Nike ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรองเท้ากีฬาอันดับต้น ๆ ของโลกเป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงก็คือ หน้าร้านจำนวนมากต้องปิดบริการเนื่องจากมาตรการควบคุมการระบาดของประเทศต่าง ๆ ส่วนทางอ้อมคือการที่ผู้ที่ชื่นชอบการเล่นกีฬาซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักจำเป็นต้องรักษาระยะห่าง อยู่แต่ที่บ้าน ทำให้การระบาดครั้งนี้เป็นวิกฤตการณ์ที่สาหัสสำหรับแบรนด์กีฬา วันนี้เราจะมาดูกันว่าในช่วงการระบาดที่ผ่านมา Nike คิดและทำอะไรบ้างเพื่อรักษาการมีส่วนร่วม สร้างประสบการณ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าให้มีความต่อเนื่อง เมื่อคนออกกำลังกายนอกบ้านไม่ได้ก็นำการออกกำลังกายไปให้ทุกคนแทน Nike ออกแอพพลิเคชัน Nike Training Club ทั้งบน App Store และ Google Play เพื่อช่วยให้ผู้คนยังสามารถออกกำลังกายที่บ้าน และบรรลุเป้าหมายในการออกกำลังกายได้ ในทางคอนเซปต์แล้ว Nike พยายามที่จะให้แอพนี้เป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกาย โดยมีรูปแบบการออกกำลังกายมากกว่า 185 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโยคะ เวทเทรนนิง คาร์ดิโอ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์อะไรก็สามารถออกกำลังกายที่บ้านได้ ให้นักกีฬาอาชีพพูดแทนอีกหลาย ๆ เสียง …

กลยุทธ์สื่อสารแบรนด์ NIKE ในยุค COVID-19 – Factsheet No.13 Read More »