fbpx

เดือน: พฤศจิกายน 2022

Thailand Software Fair 2022

อ.พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ จาก Factsheets ได้รับเชิญจากสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย บรรยายในหัวข้อ “From Infopreneur’s Perspective : Thai EdTech” ในงาน Thailand Software Fair 2022 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ – Factsheet No.76

ในการทำธุรกิจผลิตหรือขายสินค้า บ่อยครั้งที่ Factsheets มีโอกาสได้เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ประกอบการในหลายระดับ เราพบว่าอุบัติเหตุทางธุรกิจที่เกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจไม่ได้ไปต่อ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเพิ่มทันทีหลังจากที่ยอดขายเริ่มเติบโต จากความไม่เข้าใจวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ หรือ Product Life Cycle วันนี้เราจึงขอนำองค์ความรู้นี้มาฝากท่านผู้อ่าน ให้เกิดความเข้าใจในธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ทุกตัว ว่ามันมีภาวะการเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และการดับไป เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อเราเข้าใจสิ่งนี้แล้ว เราก็จะพอมีกรอบแนวคิดในการตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้น Product Life Cycle คืออะไร Product Life Cycle วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เป็นแนวคิดทางการตลาดที่อธิบายถึงขั้นตอนที่ผลิตภัณฑ์แต่ละอย่างจะต้องผ่าน ตั้งแต่ตอนแรกเริ่ม ตอนออกสู่ตลาด ตอนที่สร้างรายได้แบบเติบโต จนกระทั่งตอนที่ผลิตภัณฑ์จะต้องออกจากตลาดไปในที่สุด แนวคิดนี้จะช่วยให้เรารู้ว่าขั้นตอนต่อไปที่กำลังจะเกิดกับผลิตภัณฑ์คืออะไร และในขั้นสุดท้ายปลายทาง มันจะนำไปสู่อะไรนั่นเอง ดังนั้นการวิเคราะห์วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์จึงมีความสำคัญมาก ไม่เพียงแต่ในด้านการแข่งขันในตลาดเท่านั้น แต่อาจรวมถึงปัจจัยทางด้านเงินทุน ความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ละขั้นของวงจรมีอะไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันครับ ขั้นที่ 1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์(Product Development) เป็นช่วงที่เรามีแนวคิดที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาแล้ว แต่ยังทำไม่เสร็จ ยังไม่ออกสู่ตลาด จะเป็นช่วงที่ไม่มียอดขายเกิดขึ้น ดังนั้นในช่วงนี้ก็จะเป็นช่วงที่เราใช้ทรัพยากรหรือทุนในการสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ยิ่งนาน ยิ่งใช้เงินเยอะ การดำเนินกลยุทธ์ก็ยิ่งต้องเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นเพื่อให้คืนทุนและทำกำไร …

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ – Factsheet No.76 Read More »

บอร์ดเกมกับ HRD – Factsheet No.75

เชื่อว่าทุกคนย่อมต้องมีประสบการณ์กับเกมกระดาน หรือบอร์ดเกม : Board Game ไม่เกมใดก็เกมหนึ่ง เช่น เกมเศรษฐี (Monopoly) ตั้งแต่เรายังเด็ก ๆ แต่เราก็อาจหาโอกาสเล่นได้ไม่บ่อยนัก หากไม่ได้เล่นกับลูก ๆ หลาน ๆ ในครอบครัว ในช่วงเวลานั้นเอง สายงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือ HRD หรือเรียกง่าย ๆ ว่าฝ่ายบุคคลของธุรกิจ ต่างก็มีความสนใจที่จะนำบอร์ดเกมไปใช้ในการค้นหาตัวตนและศักยภาพพนักงานแต่ละคนผ่านการเล่นเกม เนื่องจากบอร์ดเกมจะสร้างสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการละลายพฤติกรรม ให้ทุกคนได้แสดงออก พูดคุย และตัดสินใจการเล่นเกมของตัวเอง แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก่อนที่โควิด 19 จะระบาด มีธุรกิจหนึ่งที่เติบโตขึ้นอย่างมีเสน่ห์ท่ามกลางโลกยุคดิจิทัล นั่นก็คือ คาเฟ่บอร์ดเกม ที่ให้บริการบอร์ดเกมควบคู่ไปกับอาหารและเครื่องดื่ม มีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และมี Game Master ที่ทำหน้าที่คอยแนะนำวิธีการเล่นเกมกระดานรูปแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในร้าน แถมคาเฟ่บอร์ดเกมจำนวนมากยังเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงอีกต่างหาก ทำไมต้องเป็นบอร์ดเกม และด้วยความที่บอร์ดเกมก็คือเกม ที่มีหน้าที่หลักในการให้ความบันเทิงกับผู้เล่น ดังนั้นคนที่กำลังเล่นบอร์ดเกมก็จะได้ทั้งความสนุก ได้ Soft skill เช่น …

บอร์ดเกมกับ HRD – Factsheet No.75 Read More »

เจาะลึก DNA ความเป็นอมตะของ Nintendo – Factsheet No.74

หนึ่งในบริษัทที่คนทั่วโลก ทุกยุคสมัยต้องรู้จักเป็นอย่างดี ในความเป็นธุรกิจแห่งความสนุก คงหนีไม่พ้นบริษัทเกมจากแดนอาทิตย์อุทัยอย่างนินเทนโด้ : Nintendo ซึ่งผลิตทั้งเกม เครื่องเล่นเกม และผลิตภัณฑ์ด้านความบันเทิงมากมาย Factsheets เราเคยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัทญี่ปุ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง ว่าบริษัทญี่ปุ่นมีแนวโน้มในการดำเนินธุรกิจในระยะยาวได้ จนถึงขนาดบริษัทเก่าแก่ 5 อันดับของโลกล้วนแล้วแต่มาจากญี่ปุ่น และนินเทนโด้ก็เป็นบริษัทหนึ่งที่มีอายุมากกว่า 130 ปี และก็ถือว่านินเทนโด้เป็นบริษัทวีดิโอเกมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกด้วย วันนี้เราจะพาท่านผู้อ่านย้อนประวัติความเป็นมาของนินเทนโด้ ว่านินเท็นโด้ทำอย่างไรตลอดเวลา 130 ปี ถึงทำให้จุดยืนของธุรกิจมีความแข็งแกร่งมาได้ทุกยุคสมัย ยุคเริ่มต้น ปี 1889 นินเทนโด้ก่อตั้งขึ้นในชื่อว่า Nintendo Karuta เมื่อวันที่ 23 กันยายน 1889 โดยช่างฝีมือชื่อ ฟุซาจิโระ ยามาอุจิ ที่เมืองเกียวโต โดยทำธุรกิจผลิตและขายไพ่ญี่ปุ่นที่เรียกว่าฮานาฟูดะ หรือ ไพ่ดอกไม้ หลังจากนั้นในปี 1902 ก็เริ่มขายไพ่แบบตะวันตกเพิ่มขึ้นมา จนกระทั่งหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น รัฐบาลได้กำหนดภาษีไพ่ขึ้นมา ทำให้นินเทนโด้ได้รับผลกระทบด้วย ดังนั้นนินเทนโด้จึงต้องปรับตัว ไม่ทำธุรกิจผลิตและขายไพ่แบบ B2C อย่างเดียว แต่เพิ่มช่องทางการสร้างรายได้โดยทำตลาด B2B ด้วย คือการดีลกับบริษัทบุหรี่ …

เจาะลึก DNA ความเป็นอมตะของ Nintendo – Factsheet No.74 Read More »